สาเหตุแห่งปัญหาหลักของเกียร์อัตโนมัติ
Mercedes Benz MB 722.9 ( 7G-Tronic )
………………………………………………………........
ว่ากันด้วยเรื่องของปัญหาเกียร์จุด 9
จะเรียกชื่อว่าเกียร์ 7G-Tronic / Tronic Plush
หรือเอาแบบบ้าน ๆ คือ “ เกียร์เบนซ์ 7 สปีด “
ปัญหาที่พบมากที่สุดเกินกว่า 70 เปอร์เซ็นต์คือ
“ ส่วนควบคุมระบบการทำงานของเกียร์นั่นเอง “
ในที่นี้ผมหมายรวมเอาถึงอุปกรณ์ส่วนควบคือ . -
1. โซลินอยด์เกียร์
2. เพลทสมองเกียร์
3. เรือนวาล์วบอดี้
ขออธิบายพอสังเขปให้ทราบเบื้องต้นว่า
ปัญหาของชุดควบคุมการทำงานของเกียร์นั้น
ก็มาจากการที่เราไม่ได้เปลี่ยน-ถ่ายน้ำมันเกียร์
ตามสภาพความเป็นจริงของภูมิภาคแถบร้อนชื้น
กอปรกับมีฝนตกและน้ำท่วมขังแบบบ้านเรา
ซึ่งทำให้เกิดการควบแน่นในระบบ ( ห้องเกียร์ )
เมื่อร้อนกับเย็นโคจรมาพบกัน
มันก็เกิดไอ / ละอองน้ำผสมกับน้ำมันเกียร์
น้ำมันพื้นฐานและสารเติมแต่งก็จะเสื่อมสภาพ
โดยเฉพาะสารเคลือบ “ รับแรงขบ-แรงเฉือน “
ซึ่งเป็นฟอสฟอรัส ทำปฏิกิริยากับน้ำในระบบ
กลายเป็นกรดแร่อ่อน ๆ ( กรดกำมะถัน )
คอยกัดกร่อนอลูมิเนียม หรือโลหะอื่นที่ไม่ใช่เหล็ก
อาทิ.-
- เรือนวาล์วบอดี้ที่เป็นอลูมิเนียม
- ออยล์วอร์เมอร์ที่เป็นอลูมิเนียม
- หรือเสื้อเกียร์ที่มีส่วนผสมของอลูมิเนียม
ให้ผุกร่อนร่อนเป็นผุยผงหล่นลงมาปะปน
กับน้ำมันเกียร์ที่หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา
เศษสิ่งสกปรกเหล่านี้ บางทีก็ไปปิดกั้น
หรืออุดตันทางเดินของน้ำมันเกียร์
เช่น.-
- หากไปติดสะสมที่โซลินอยด์เกียร์
ก็อาจทำให้การจ่ายน้ำมันได้ไม่เต็มที่
TCU ก็จะแจ้งว่าโซลินอยด์มีปัญหา
- หากไปติดสะสมที่ลูกสูบวาล์วบอดี้
ก็จะมีปัญหากับทางเดินของน้ำมันเกียร์
TCU ก็จะประมวลผลผิดพลาดเป็นระยะ ๆ
เป็นต้น ฯ
..................................................
เรื่องสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ
อุณหภูมิของน้ำมันเกียร์ที่เสื่อมสภาพแล้ว
ก็จะสูงกว่าปกติที่พึงจะเป็น
และหากใช้ในสภาพการจราจรที่ติดขัด
ก็ยิ่งทำให้ความร้อนสะสมมากขึ้นไปอีก
เซ็นเซอร์ต่าง ๆ ที่อยู่ในชุดควบคุมคือ
- เซ็นเซอร์ควบคุมความเร็วทั้ง 3 ตัว
- เซ็นเซอร์บอกตำแหน่งเกียร์
- เซ็นเซอร์วัดค่าอุณหภูมิ
ตลอดจนซีล - ยาง / โอริงต่าง ๆ
ก็เกิดการแข็ง / หดตัวได้ง่าย
ผ้าคลัตช์แข็งตัวมีการเสียดสีมากขึ้น
ฝุ่นผงก็ย่อมมากขึ้นไปอีก ฯลฯ
ปัญหาเรื่องชุดควบคุมการทำงานของเกียร์
หาใช่เพียงแต่เกิดขึ้นในบ้านเราเท่านั้นไม่ !
ในต่างประเทศที่มีอากาศเย็นสบาย
ก็มีปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเสมอ ๆ
ด้วยเหตุเพียงเพราะว่า
“ ไม่ได้เปลี่ยน-ถ่ายน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ “
เนื่องจากมีกรอบของกฎหมายสิ่งแวดล้อม
ค้ำคออยู่นั่นเอง …..
ในส่วนของบ้านเราเองนั้น
ก็ยังไม่ได้เข้มงวดในเรื่องนี้สักเท่าไร ?
หากเป็นไปได้แนะนำให้เปลี่ยน - ถ่าย
น้ำมันเกียร์อัตโนมัติทุก 20,000 กิโลเมตร
หรือว่าทุก ๆ 1 ปี
ก็จะเป็นการดีที่สุดในเรื่องของ
“ การดูแลและบำรุงรักษา “
ให้เกียร์อัตโนมัติมีสมรรถนะที่ดี
และมีอายุการใช้งานยาวนาน
อย่างที่พึงจะเป็นนะ ....
ขอรับกระผม !
....................................................................
เซ็นเตอร์ วีล ออโตโมทีฟ
โทร. 0 8 – 2 4 4 2 – 5 3 3 5
-- รุ่ง ม.สยาม --
เบอร์เดียวรู้เรื่อง !
#ฟอกเกียร์ #น้ำมันเกียร์ #ฟอกเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ #ฟลัช #ฟลัชชิ่ง #ฟลัชชิ่งเกียร์ #ดีท็อกซ์เกียร์ #เปลี่ยนน้ำมันเกียร์แบบเต็มระบบ #flush #flushing #กรองเกียร์ #อ่างเกียร์ #น้ำมันเครื่อง #กรองอากาศ #กรองเครื่อง #722.9 #MB #วาล์วบอดี้ #เพลทเกียร์ #สมองเกียร์
Mercedes Benz MB 722.9 ( 7G-Tronic )
………………………………………………………........
ว่ากันด้วยเรื่องของปัญหาเกียร์จุด 9
จะเรียกชื่อว่าเกียร์ 7G-Tronic / Tronic Plush
หรือเอาแบบบ้าน ๆ คือ “ เกียร์เบนซ์ 7 สปีด “
ปัญหาที่พบมากที่สุดเกินกว่า 70 เปอร์เซ็นต์คือ
“ ส่วนควบคุมระบบการทำงานของเกียร์นั่นเอง “
ในที่นี้ผมหมายรวมเอาถึงอุปกรณ์ส่วนควบคือ . -
1. โซลินอยด์เกียร์
2. เพลทสมองเกียร์
3. เรือนวาล์วบอดี้
ขออธิบายพอสังเขปให้ทราบเบื้องต้นว่า
ปัญหาของชุดควบคุมการทำงานของเกียร์นั้น
ก็มาจากการที่เราไม่ได้เปลี่ยน-ถ่ายน้ำมันเกียร์
ตามสภาพความเป็นจริงของภูมิภาคแถบร้อนชื้น
กอปรกับมีฝนตกและน้ำท่วมขังแบบบ้านเรา
ซึ่งทำให้เกิดการควบแน่นในระบบ ( ห้องเกียร์ )
เมื่อร้อนกับเย็นโคจรมาพบกัน
มันก็เกิดไอ / ละอองน้ำผสมกับน้ำมันเกียร์
น้ำมันพื้นฐานและสารเติมแต่งก็จะเสื่อมสภาพ
โดยเฉพาะสารเคลือบ “ รับแรงขบ-แรงเฉือน “
ซึ่งเป็นฟอสฟอรัส ทำปฏิกิริยากับน้ำในระบบ
กลายเป็นกรดแร่อ่อน ๆ ( กรดกำมะถัน )
คอยกัดกร่อนอลูมิเนียม หรือโลหะอื่นที่ไม่ใช่เหล็ก
อาทิ.-
- เรือนวาล์วบอดี้ที่เป็นอลูมิเนียม
- ออยล์วอร์เมอร์ที่เป็นอลูมิเนียม
- หรือเสื้อเกียร์ที่มีส่วนผสมของอลูมิเนียม
ให้ผุกร่อนร่อนเป็นผุยผงหล่นลงมาปะปน
กับน้ำมันเกียร์ที่หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา
เศษสิ่งสกปรกเหล่านี้ บางทีก็ไปปิดกั้น
หรืออุดตันทางเดินของน้ำมันเกียร์
เช่น.-
- หากไปติดสะสมที่โซลินอยด์เกียร์
ก็อาจทำให้การจ่ายน้ำมันได้ไม่เต็มที่
TCU ก็จะแจ้งว่าโซลินอยด์มีปัญหา
- หากไปติดสะสมที่ลูกสูบวาล์วบอดี้
ก็จะมีปัญหากับทางเดินของน้ำมันเกียร์
TCU ก็จะประมวลผลผิดพลาดเป็นระยะ ๆ
เป็นต้น ฯ
..................................................
เรื่องสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ
อุณหภูมิของน้ำมันเกียร์ที่เสื่อมสภาพแล้ว
ก็จะสูงกว่าปกติที่พึงจะเป็น
และหากใช้ในสภาพการจราจรที่ติดขัด
ก็ยิ่งทำให้ความร้อนสะสมมากขึ้นไปอีก
เซ็นเซอร์ต่าง ๆ ที่อยู่ในชุดควบคุมคือ
- เซ็นเซอร์ควบคุมความเร็วทั้ง 3 ตัว
- เซ็นเซอร์บอกตำแหน่งเกียร์
- เซ็นเซอร์วัดค่าอุณหภูมิ
ตลอดจนซีล - ยาง / โอริงต่าง ๆ
ก็เกิดการแข็ง / หดตัวได้ง่าย
ผ้าคลัตช์แข็งตัวมีการเสียดสีมากขึ้น
ฝุ่นผงก็ย่อมมากขึ้นไปอีก ฯลฯ
ปัญหาเรื่องชุดควบคุมการทำงานของเกียร์
หาใช่เพียงแต่เกิดขึ้นในบ้านเราเท่านั้นไม่ !
ในต่างประเทศที่มีอากาศเย็นสบาย
ก็มีปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นเสมอ ๆ
ด้วยเหตุเพียงเพราะว่า
“ ไม่ได้เปลี่ยน-ถ่ายน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ “
เนื่องจากมีกรอบของกฎหมายสิ่งแวดล้อม
ค้ำคออยู่นั่นเอง …..
ในส่วนของบ้านเราเองนั้น
ก็ยังไม่ได้เข้มงวดในเรื่องนี้สักเท่าไร ?
หากเป็นไปได้แนะนำให้เปลี่ยน - ถ่าย
น้ำมันเกียร์อัตโนมัติทุก 20,000 กิโลเมตร
หรือว่าทุก ๆ 1 ปี
ก็จะเป็นการดีที่สุดในเรื่องของ
“ การดูแลและบำรุงรักษา “
ให้เกียร์อัตโนมัติมีสมรรถนะที่ดี
และมีอายุการใช้งานยาวนาน
อย่างที่พึงจะเป็นนะ ....
ขอรับกระผม !
....................................................................
เซ็นเตอร์ วีล ออโตโมทีฟ
โทร. 0 8 – 2 4 4 2 – 5 3 3 5
-- รุ่ง ม.สยาม --
เบอร์เดียวรู้เรื่อง !
#ฟอกเกียร์ #น้ำมันเกียร์ #ฟอกเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ #ฟลัช #ฟลัชชิ่ง #ฟลัชชิ่งเกียร์ #ดีท็อกซ์เกียร์ #เปลี่ยนน้ำมันเกียร์แบบเต็มระบบ #flush #flushing #กรองเกียร์ #อ่างเกียร์ #น้ำมันเครื่อง #กรองอากาศ #กรองเครื่อง #722.9 #MB #วาล์วบอดี้ #เพลทเกียร์ #สมองเกียร์
- Category
- 722.9
Commenting disabled.